5 วิธีระบายความร้อนหลังคาบ้าน

Last updated: 2 มิ.ย. 2565  |  1823 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 วิธีระบายความร้อนหลังคาบ้าน

อากาศในประเทศไทยมีอุณภูมิสูงมากขึ้นทุกปี ใคร ๆ ก็คงอยากให้บ้านพักเป็นที่อาศัยหลบร้อนจากภายนอกกันทั้งนั้น วันนี้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรับสร้างบ้าน ระเบียงขาว มีวิธีระบายความร้อนของหลังคาบ้านมาฝากกัน ไปดูกันเลยค่ะ

1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคา บนฝ้า

ฉนวนกันความร้อนหลังคา (Insulation) หรือแผ่นกันความร้อน อีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้งบประมาณไม่มากนัก สำหรับบ้านสร้างใหม่และบ้านเก่า เพื่อลดพลังงานความร้อนที่เข้ามาในตัวบ้านให้ลดน้อยลง ซึ่งฉนวนกันความร้อนนี้มีหลากหลายแบบ และก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน จึงควรปรึกษาผู้ให้บริการรับเหมาก่อสร้างบ้านที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้คุณเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะกับบ้านของคุณ

2. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน

หลังคาบ้านนั้นถือว่าเป็นเกราะป้องกันแสงแดดด่านแรกที่มีความสำคัญมาก การเลือกใช้หลังคาบ้านสีอ่อนจะช่วยลดการดูดซับความร้อนจากแสงแดดได้ดีกว่าหลังคาบ้านที่มีสีเข้ม ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านของคุณได้

3. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น

อิฐมอญ เป็นวัสดุโครงสร้างบ้านที่หาซื้อง่าย ราคาถูก แต่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านความคงทน เจ้าของบ้านจึงนิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างบ้าน แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการรับสร้างบ้านจะนิยมก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น เท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหา บ้านร้อนอบอ้าว เพราะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน อาจจำเป็นต้องก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะในบริเวณทิศทางที่โดนแดดในช่วงบ่าย เช่น ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อป้องกันความร้อน

4. ระยะยื่นชายคาที่เหมาะสม

ความเหมาะสมของระยะชายคา เป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยลด ความร้อนใต้หลังคา เพราะนอกจากชายคาจะช่วยกันแสงแดด กันฝนแล้ว ยังช่วยระบาย ความร้อนใต้หลังคา ให้บ้านเย็นสบายมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วระยะยื่นชายคาที่เหมาะสมสำหรับกันแดดจะอยู่ที่ 1.00 – 1.80 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละห้องด้วยครับ เช่น ห้องน้ำ อาจจะต้องการแสงแดดในปริมาณที่มากกว่าห้องนั่งเล่น ห้องนอน และห้องทำงาน จึงต้องมีการออกแบบโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้โครงสร้างทีเหมาะสม

5. เลือกพื้น “กระเบื้อง” ที่ให้ความเย็น

กระเบื้องพื้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว หากเลือกปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วก็จะสามารถลดความร้อนภายในบ้านของคุณลงได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้